วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โลจิสติกส์ Logistics

นิยามของโลจิสติกส์

โลจิสติกส์ หมายถึง กระบวนการวางแผน การดำเนินงาน และการควบคุมการเคลื่อนย้ายทั้งไปแลกลับ
การเก็บรักษาสินค้า บริการ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการผลิตไปสู่จุดสุดท้ายของการบริโภคเพื่อตอบสนองความ ต้องการของลูกค้า

โลจิสติกส์ (Logistics) หมายถึง การจัดลำเลียงสินค้าเพื่อให้เกิดค่าใช้จ่ายโดยรวมในการกระจายสินค้าต่ำที่ สุด โลจิสติกส์เกี่ยวข้องตั้งแต่กระบวนการจัดหาวัตถุดิบและไปสิ้นสุด ณ จุดที่มีการบริโภคสินค้านั้น หรือในอีกความหมายหนึ่ง โลจิสติกส์เป็นกระบวนการในการจัดการวางแผน จัดสายงานและควบคุมกิจกรรมทั้งในส่วนที่มีการเคลื่อนย้ายและไม่มีการเคลื่อน ย้ายในการอำนวยความสะดวกของกระบวนการไหลของสินค้า ตั้งแต่จุดเริ่มจัดหาวัตถุดิบไปถึงจุดที่มีการบริโภคโลจิสติกส์ ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ 2 ลักษณะ คือ กิจกรรมหลักและกิจกรรมสนับสนุน

โลจิสติกส์      หมายถึง การจัดการเคลื่อนย้ายของสินค้า บริการ ข้อมูล และการเงินระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค จะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ ดังต่อไปนี้



กิจกรรมหลั (Key Activities) ได้แก่
- ระบบการขนส่ง (Transportation)
- การบริหารสินค้าใน stock ( Inventory Management)
- ขบวนการสั่งซื้อ (Order Processing)
- การจัดการด้านข้อมูล ( Information Management)
- การจัดการด้านการเงิน ( Financial Management)

กิจกรรมสนับสนุน ( Supporting Activities) ได้แก่
- การบริหารคลังสินค้า ( Warehouse Management)
- การจัดการควบคุมวัสดุในการผลิต ( Material Handling)
- การจัดซื้อ ( Purchasing)
- การบรรจุหีบห่อ ( Packaging)
- การบริหารความต้องการของสินค้า ( Demand Management)


                                                                                   

โลจิสติกส์สำคัญอย่างไร
 
          สหรัฐอเมริกา ประเทศยักษ์ใหญ่ทั้งด้านเศรษฐกิจ และการเมือง อาจจะกล่าวได้ว่าแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลก  ดูจากการเปลี่ยนแปลงของอเมริกาก็ว่าได้ สหรัฐอเริกามีการพัฒนาระบบโลจิสติกส์อย่างต่อเนือง และมีความก้าวหน้า  เป็นอย่างมาก แต่ส่วนใหญ่เป็นการขับเคลื่อนโดยภาคธุรกิจเป็นหลัก เนื่องจากมีการแข่งขันอย่างรุนแรงในการลดต้นทุน  โดยเฉพาะการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีการสร้างความร่วมมือกันในโซ่อุปทานโดยใช้การบริหาร  นอกจากนี้ ภาคธุรกิจยังมีความตื่นตัวในการจัดระบบฐานข้อมูลโลจิสติกส์เพื่อการวิเคราะห์ต้นทุนที่แท้จริง และที่ผ่านมาภาครัฐได้ออกกฎหมายควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรี จากการพัฒนาดังกล่าว ทำให้ต้นทุนโลจิสติกส์ของสหรัฐฯ ลดลงอย่างต่อเนือง (จากประมาณร้อยละ 16 ของ GDP ในปี 1981 ลงมาเหลือร้อยละ 9.5 ในปี 2001) และจากการลดต้นทุนดังกล่าวทำให้เกิดทฤษฎี  ประมาณว่าในระดับธุรกิจนั้น พบว่าหากบริษัทสามารถลดต้นทุนการขนส่งได้ร้อยละ 1 แล้วจะสามารถทำให้ส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ และหากประเทศหนึ่งๆ สามารถลดต้นทุนการขนส่งร้อยละ 10 แล้วจะสามารถเพิ่มการค้ารวม (ภายในและส่งออก) ได้ถึง ร้อยละ 20  สำหรับประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียบางประเทศนั้นจะสามารถเพิ่มมูลค่า GDP ได้ถึงร้อยละ 1.5-2.0 หากประเทศนั้น  สามารถ ลดต้นทุนโลจิสติกส์ได้ถึงร้อยละ 15-20
 

การส่งสินค้าและการจัดเก็บ


1. ขอความร่วมมือจากซัพพลายเออร์ให้ส่งสินค้าเป็นแบบใส่พาเลทมากขึ้น ลองเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานดู หากขนถ่ายสินค้าที่ไม่บรรจุพาเลทต้องใช้พนักงาน 3 คนและใช้เวลาถึง 4 ชม. กับการขนสินค้าจำนวนเท่ากัน แต่การใส่พาเลทและใช้พนักงานคนเดียวทำเสร็จภายใน 30 นาที อย่างไหนจะคุ้มกว่ากัน ร้านค้าปลีกรายใหญ่บางแห่งจะกำหนดขนาดและแบบพาเลทให้ซ้อนกันได้ด้วย เพื่อไม่ต้องเสียเวลาขนถ่ายใหม่ คู่ค้ารายใดไม่ปฏิบัติตามก็จะถูกปฏิเสธการรับสินค้า
2. วางแผนจัดเก็บสินค้าด้วยพาเลทให้เกิดประโยชน์สูงสุด บางครั้งอาจจำเป็นต้องจัดพาเลทในคลังสินค้าเพื่อจัดเก็บสินค้าที่เข้ามาจาก ตู้คอนเทนเนอร์ที่ไม่ใส่พาเลทด้วย ในกรณีนี้ อาจต้องหาโปรแกรมคำนวณการจัดพาเลทมาช่วยงาน เพียงใส่ตัวเลขขนาดคาร์ตัน เครื่องก็จะคำนวณรูปแบบการจัดวางที่มีประสิทธิภาพที่สุดออกมา แต่ต้องแจ้งพนักงานจัดพาเลทใช้ให้เหมาะกับงาน
3. จัดตั้งพาเลทแนวสูงหากคลังสินค้ามีพื้นที่พอ เพราะการวางสูงขึ้นไปจะทำให้ขนย้ายสินค้าได้มากชิ้นต่อครั้ง ช่วยลดจำนวนครั้งในการขนถ่ายลง แต่ต้องดูสมรรถนะของโฟล์กลิฟท์ที่ใช้ด้วยว่าไปกับความสูงได้
4. ขอให้ซัพพลายเออร์จัดสินค้ารายการเดียวกันอยู่รวมกัน เช่น สินค้าชนิดหนึ่งส่งมา 12 คาร์ตัน สินค้านั้นก็ควรจะอยู่ที่เดียวกันภายในคอนเทนเนอร์ ไม่ใช่อยู่ด้านหน้า 4 คาร์ตัน ตรงกลาง 4 คาร์ตันและที่เหลืออยู่ในสุดของตู้ บริษัทบางแห่งจัดพิมพ์คู่มือการขนถ่ายสินค้าให้กับซัพพลายเออร์ด้วย หากรายใดไม่ปฏิบัติตามจะถูกปรับ
5. ประสานงานกับ carrier ให้มาส่งของนอกเวลาพีคไทม์ พนักงานจะได้ขนของโดยไร้ความกดดัน และคนขับรถก็ไม่ต้องต่อคิวนาน หรือต้องขับไปจอดหลบตรงนั้นตรงนี้ระหว่างรอ ซึ่งอาจทำให้ถูกปรับเพราะเกิดความล่าช้าที่คาดไม่ถึง

                                                               

6. บริหารคำสั่งซื้อแบบรายสัปดาห์หรือตามช่วงพีคของฤดูกาลล่วงหน้า เมื่อจัดการแพ็คเรียบร้อยแล้วก็ส่งไปเก็บ ณ จุดเตรียมส่งได้เลย วิธีการนี้เรียกว่า pack-and-hold orders คือ เตรียมออร์เดอร์ล่วงหน้าแล้วรอไว้เตรียมส่ง วิธีนี้เหมาะกับออร์เดอร์มาตรฐานที่สามารถหยิบนอกเวลาพีคไทม์และเก็บไว้ที่ จุดเตรียมส่งจนถึงกำหนดวันส่ง สามารถใช้ trailer และพาเลท ณ จุดเตรียมส่ง เป็นที่เก็บออร์เดอร์ล่วงหน้าได้
7. ประสานงานกับซัพพลายเออร์ให้บรรจุสินค้าให้เสร็จก่อน (pre-packs) บริษัทที่ทำอย่างนี้คือบริษัทเสื้อผ้าที่มักสั่งให้ผู้ผลิตในต่างประเทศติด บาร์โค้ด อาทิ รุ่น สี หรือขนาด ให้เสร็จก่อนทำการบรรจุ เมื่อสินค้าที่สั่งมาถึงศูนย์กระจายสินค้า ก็สามารถสแกนแล้วติด label ใหม่ (เพื่อให้ตรงตามการจัดสรรพื้นที่และชั้นเก็บของที่เตรียมไว้ล่วงหน้า) และส่งต่อไปยังพื้นที่ส่งผ่าน (cross dock) ไปตามร้านค้าที่กำหนดได้เลย
8. ทบทวนเส้นทางของการหยิบเพื่อหาทางลดระยะทางในการทำงาน สินค้าที่ขายดีและเร็ว ควรจัดเก็บใกล้ประตูเข้าออกมากที่สุด เพื่อให้หยิบได้เร็ว ย้ายสินค้าที่พ้นฤดูกาลลึกเข้าไปข้างในแทน
9. เพิ่มชั้นเล็กเพื่อเก็บสินค้าที่มีรายการสินค้า (SKU) น้อย ปัจจุบันมีวิธีเพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้าด้วยการสั่งสินค้าเป็นกล่องแทน สั่งแบบเต็มพาเลท เพื่อให้สินค้าในคลังหมุนเวียนได้เร็ว การมีชั้นย่อยเพื่อเก็บสินค้าประเภทนี้ทำให้หาของได้ง่าย
10. สินค้าพวกลูกฟูกกินเนื้อที่ ไม่ควรสั่งมาเก็บให้เปลืองพื้นที่มีค่าในคลังสินค้า สินค้าประเภทนี้ควรสั่งเป็นแบบ just-in-time มากที่สุด
11.จัดการเคลียร์คลังสินค้าทุกจุดเป็นระยะๆ เพราะทิ้งไว้นานๆ คลังสินค้าจะรก กลายเป็นที่เก็บของไม่จำเป็น สิ้นเปลืองพื้นที่มีค่าโดยใช่เหตุ ควรย้ายของที่ไม่ใช้ประโยชน์ออกไป หรือคิดค่าเก็บค่ารักษาจากหน่วยงานภายในบริษัทด้วยหากมีการนำมาฝากเก็บ

ขอขอบคุณ

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

มาร์โค โปโล (Marco Polo)[c.1254-1324]

                     
ประวัติ 
             มาร์โคโปโล เกิดวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 1797 (ค.ศ.1254) ณ เกาะคอรชูล่า ในประเทศโครเอเชียปัจจุบัน เสียชีวิต 8 มกราคม พ.ศ. 1866(ค.ศ.1324) เป็นนักเดินทางค้าขายและนักสำรวจชาวเมืองเวนิส ประเทศอิตาลี มาร์โคโปโลเป็นชาวตะวันตกคนแรก ๆ ที่ได้เดินทางตามเส้นทางสายไหม (ร่วมกับบิดาและลุงของเขา) ไปยังประเทศจีน (ซึ่งเขาเรียกว่า คาเธ่ย์) และได้เข้าเฝ้าจักรพรรดิกุบไล ข่านแห่งจักรวรรดิมองโกล ผู้เป็นหลานปู่ของเจงกีส ข่าน และได้ใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองหางโจวช่วยงานราชสำนักถึง 17 ปี ก่อนเดินทางกลับบ้านเกิดการเดินทางของเขาถูกบันทึกไว้ในหนังสือชื่อ อิลมีลีโอเน     
(IlMilione)หรืออีกชื่อหนึ่งคือ การเดินทางของมาร์โคโปโล

                   มาร์โค โปโล นักเดินทางในสมัยกลางชาวอิตาเลี่ยน ถือว่าเป็นชาวยุโรปคนแรก ที่เดินทางข้ามทวีปเอเชีย และได้เขียนบันทึกการเดินทางเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้ยินได้ฟังเอาไว้. หนังสือบันทึกการเดินทางของเขาได้รับการรู้จักกันในภาษาอังกฤษว่า The Travels of Marco Polo, ในหนังสือเล่มดังกล่าว เขาได้อธิบายถึงทวีปๆหนึ่ง ซึ่งไม่เป็นที่รู้จักกันเลยสำหรับชาวยุโรปในยุคสมัยของเขา. เขาได้พรรณาถึงอารยธรรมเกี่ยวกับจีน ซึ่งเจริญเหนือกว่าวัฒนธรรม และเทคโนโลยีของชาวยุโรป. แต่เนื่องจากว่าบางส่วน มีนัยะที่เป็นไปในเชิงยกยอปอปั้น, หนังสือเล่มนี้จึงไม่ได้รับการพิจารณาในสาระสำคัญ เพราะถือว่าเป็นเรื่องที่เสกสรรค์ขึ้นมา และเป็นเรื่องเกินความจริงไป. จนกระทั่งคริสตศตวรรษที่ 19 นักวิชาการและบรรดานักสำรวจทั้งหลาย จึงยืนยันถึงความถูกต้องเที่ยงตรงโดยทั่วๆไป เกี่ยวกับการสังเกตุการณ์ของมาร์โคโปโล
มาร์โคโปโล (Marco Polo)
         มาร์โคโปโลเป็นลูกพ่อค้าชาวเมืองเวนิส และได้ออกเดินทางทางบกไปถึงประเทศจีนกับบิดา และลุงของเขา เมื่อ ค.ศ. 1271 ซึ่งเป็นการเดินทางผจญภัยครั้งยิ่งใหญ่ ในประวัติการค้นคว้าสำรวจครั้งหนึ่ง ในสมัยนั้นบิดาและลุงของมาร์โคโปโลได้เข้าไปอยู่ในประเทศจีนในฐานะพ่อค้า เมื่อกลับมาถึงเวนิสและจะออกเดินทางไปอีกได้นำเอามาร์โคโปโลลูกชายอายุ 17 ปีไปด้วย พร้อมกับหนังสือของพระสังฆราชไปยังพระเจ้ากุบไลข่าน จักรพรรดิแห่งประเทศจีน ตลอดระยะทาง มาร์โคโปโลได้บันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ที่เขาได้พบเห็นไว้หมดสิ้น เช่น เรื่องราวเกี่ยวกับนครแบกแดด ศูนย์การค้าของพวกอาหรับ การเดินทางข้ามเทือกเขาฮินดูกูส และทะเลทรายเป็นต้น การเดินทางครั้งนั้นกินเวลา 3 ปี จึงไปถึงราชสำนักของพระเจ้ากุบไลข่าน ในประเทศจีน มาร์โคโปโลได้พบว่าเป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยความมหัศจรรย์ เขาได้เห็นชาวเมืองใช้กระดาษแทนเงินตรา ใช้ถ่านหินก่อไฟผิง หุงต้มและใช้ในกิจการอื่น ๆ ตลอดจนได้พบเห็นการแกะตัวพิมพ์ด้วยไม้ และการพิมพ์ตัวหนังสือลงบนกระดาษ ฯลฯ อันเป็นความรู้ใหม่ของชาวยุโรป เช่น มาร์โคโปโล สมัยนั้น เมื่อไปอยู่ในราชสำนักนาน ๆ ไม่ช้า มาร์โคโปโลก็เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าข่าน เขาได้ถูกส่งให้ไปดูแลบ้านเมืองต่าง ๆ ของประเทศจีน และออกไปยังดินแดนของพม่า ธิเบต ขึ้นไปทางเหนือถึงดินแดนไซบีเรีย ได้เห็นสุนัขลากเลื่อน หมีขาว และชาวพื้นเมืองซึ่งนั่งบนเลื่อนน้ำแข็ง มีกวางเรนเดียร์ลากไปมา การเดินทางท่องเที่ยวของมาร์โคโปโลไปยังที่ต่าง ๆ โดยอาศัยความคุ้มครองของจักรพรรดิข่าน ทำให้เขาได้ทราบเรื่องราวของอาเซียตะวันออกได้ดียิ่งกว่าชาวพื้นเมืองเสียอีก ทางประวัติศาสตร์จึงยกย่องว่า มาร์โคโปโลเป็นนักสำรวจค้นคว้าคนสำคัญคนหนึ่ง

ขอขอบคุณ
http://nu20003.9.forumer.com/a/_post729.html

ความหมายการขนส่งธุรกิจ

   การขนส่งธุรกิจ
         หมายถึง การเดินทางย้ายจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ต้องอาศัยยานพาหนะในการขนส่ง โลจิสติกส์ การวางแผนทางธุรกิจสำหรับการจัดการไหลเวียนของวัตถุดิบ  การบริการ ข้อมูล  การไหลเวียนของเงินทุน  รวมไปถึงความซับซ้อนของข้อมูลข่าวสาร  เรื่องของการสื่อสารระบบการควบคุมสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจ
     การขนส่ง   หมายถึง  การเคลื่อนย้ายที่โดยการแบ่งแยกโดยใช้ยานพาหนะหรือมือยก      
                                                   หรือ การใช้ร่างกาย
-  การส่งบุคคล อีกที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
-  การเคลื่อนที่ไปในระยะทางไกล

การขนส่งผู้โดยสาร  หมายถึง การจัดให้มีการเคลื่อนย้ายบุคคลด้วยเครื่องมืออุปกรณ์  การขนส่ง จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งตามแหล่งประสงค์
   ลักษณะของการขนส่งผู้โดยสาร  มีองค์ประกอบ 3 อย่างคือ
1.  การเคลื่อนย้ายบุคคลจากที่ หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
2.  การเคลื่อนย้ายกระทำด้วยอุปกรณ์การขนส่ง
3.  การเคลื่อนย้ายวัตถุประสงค์ของบุคคลเพื่อประโยชน์
   หน้าที่ของการขนส่งผู้โดยสาร
1.  เพื่อให้เกิดอรรถประโยชน์ด้านเวลาและสถานที่
2.  มิใช่อรรถประโยชน์ด้านกายภาพ
3.  การขนส่งเชื่อมโยงความสัมพันธ์  ภายในชาติ
    ความสำคัญการขนส่ง
-  ด้านเศรษฐกิจ
1.  ทำให้นักธุรกิจ-ติดต่อค้าขายทั้งในและต่างประเทศ ก่อให้เกิดการค้าขาย
2.  ก่อให้เกิดรายได้มหาศาล  จากการเดินทางท่องเที่ยว
3.  ลดปัญหาการว่างงาน  ทำให้เกิดการเลื่อนย้ายแรงงานข้ามภูมิภาค
4.  การขนส่งผู้โดยสารทำให้เกิดความร่วมมือทางด้านธุรกิจ
-  ทางด้านสังคม
1.  การขยายตัวของเมือง เดินทางสะดวก  ชุมชนขยายตัว
2.  การเดินทางสะดวก  ลดการแบ่งแยกทางสังคมระหว่างเมืองกับชนบท
3.  ติดตามนโยบายของรัฐ

ปัญหาของการขนส่ง
-  อากาศเป็นพิษ
-  เกิดมลพิษทางน้ำ
-  เกิดเสียงรบกวน
-  เกิดจราจรติดขัด
-  ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ
-  เกิดปัญหาการลงทุน
1. การขนส่งในตัวเมือง หมายถึง ความพยายามในการจัดการขนส่งผู้โดยสารในชุมชนซึ่งอาจเป็นเทศบาลเมืองต่างๆ หรือเมืองหลวง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ
2. การให้บริการขนส่งผู้โดยสารในตัวเมือง มี3 รูปแบบ
-   การขนส่งผู้โดยสาร ไปกลับภายในตัวเมือง
-   การขนส่งผู้โดยสาร เข้าในตัวเมือง
-   การขนส่งผู้โดยสารออกนอกตัวเมือง
3.  การให้บริการขนส่งผู้โดยสารระหว่างประเทศ
การพยายามในการจัดการขนส่งโดยสารระหว่างประเทศให้มีประสิทธิภาพ


   เครื่องบิน    ------     เรือ  ------      รถยนต์  รถไฟ

ประเภทของการขนส่งผู้โดยสาร 

 แบ่งออกเป็น 4  ประเภท
-   รถยนต์
-   รถไฟ
-   เรือ
-   เครื่องบิน
  สรุป
-   การขนส่งผู้โดยสารกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยว
-   นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวอย่างสะดวก
-   เกิดการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
-   สร้างรายได้ในท้องถิ่น เชื่อมโยงกับกระบวนการขนส่ง